ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
อาคารเฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 5 เลขที่ 2
ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่
บางกะปิ ห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310
โทรศัพท์ 02-716-7220 แฟ็กซ์ 02-716-7771
มือถือ 085-261-0066, 081-906-3066
anesththai.rcat@gmail.com, rcat.register@gmail.com, anesthai@hotmail.com
คณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย วาระปี พ.ศ.2563-2564
แพทย์หญิงสุวรรณี |
สุรเศรณีวงศ์ |
ประธานราชวิทยาลัย |
นายแพทย์รื่นเริง |
ลีลานุกรม |
รองประธานราชวิทยาลัย |
แพทย์หญิงประภา |
รัตนไชย |
อดีตประธานราชวิทยาลัย |
แพทย์หญิงสุวิมล |
ต่างวิวัฒน์ |
เลขาธิการ |
นายแพทย์ชาญฤทธิ์ |
ล้อทวีศักดิ์ |
รองเลขาธิการ |
แพทย์เบญจรัตน์ |
หยกอุบล |
เหรัญญิก |
แพทย์อรลักษณ์ |
รอดอนันต์ |
ประธานวิชาการ |
นายแพทย์นรุตม์ |
เรือนอนุกูล |
นายทะเบียน |
แพทย์สุรัญชนา |
เลิศศิริโสภณ |
ประชาสัมพันธ์ |
นายแพทย์สมบูรณ์ |
เทียนทอง |
กรรมการกลาง |
แพทย์หญิงนุชนารถ |
บุญจึงมงคล |
กรรมการกลาง |
แพทย์หญิงวรินี |
เล็กประเสริฐ |
กรรมการกลาง |
แพทย์หญิงงามจิตร์ |
ภัทรวิทย์ |
กรรมการกลาง |
นายแพทย์ภูพิงค์ |
เอกะวิภาต |
กรรมการกลาง |
นายแพทย์นันตสรณ์ |
สิญจน์บุณยะกุล |
กรรมการกลาง |
ประวัติความเป็นมาและการดำเนินการก่อตั้ง ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย
สมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ก่อตั้งขึ้น พ.ศ.2513 ดำรงสานภาพมาจนถึง พ.ศ. 2531 นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ได้เสนอข้อคิดเห็นว่าควรจะเปลี่ยนสถานภาพเป็นราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ซึ่งขณะนั้นมีเพียงราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ และราชวิทยาลัยศัลยแพทย์ เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเรื่องใหม่ ยังไม่เป็นที่เข้าใจกันว่าเมท่อเปลี่ยนสถานภาพแล้ว จะมีปัญหาเรื่องการเงินของสมาคม การควบคุมการทำงานของสมาชิกร่วมคือ วิสัญญีพยาบาลว่าจะมีปัญหาหรือไม่ สมาคมเพิ่มจะจัดการปัญหาวิสัญญีพยาบาลกับการก้าวล่วงของกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับการฝึกอบรมวิสัญญีพยาบาล เมื่อปี พ.ศ. 2521-2523 และยืดเยื้อมานานจนเข้ารูปเข้ารอยกับกระทรวงฯ จนพอจะประสานงานกันได้ เมื่อประมาณ พ.ศ. 2529 ซึ่งกระทรวงยอมออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขเกี่ยวกับวิสัญญีพยาบาลให้ ดังนั้นการจะเปลี่ยนสภาพจากสมาคมเป็นราชวิทยาลัย เพื่อเปลี่ยนเป็นราชวิทยาลัย ซึ่งจะต้องเกี่ยวพันกับแพทยสภา หรือกึ่งหน่วยราชการผู้เกี่ยวข้องงานบริหารจึงพิจารณาอย่างรอบคอบ เริ่มพิจารณากันเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2531 จนตกผลึกได้ร่างข้อบังคับว่าด้วย “วิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย” ส่งแพทยสภา เพื่อดำเนินเรื่องขอเป็น “ราชวิทยาลัยฯ”ต่อไป
หลังจากได้รับวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2533 แล้ว นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ได้กรุณารับภาระดำเนินเรื่องขอพระราชทานพระมหากรุณารับวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น “ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย” ต่อไป
เริ่มดำเนินเรื่อง 22 สิงหาคม 2534 และได้รับทราบว่าผ่านขั้นตอนเป็นราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2535
สมาคมวิสัญญีแพทย์ฯ เป็น วิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ฯ ใช้เวลา 2 ปี 7 เดือน
วิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ฯ เป็น ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งฯ ใช้เวลา 1 ปี 8 เดือน
ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือ ร่วมใจ จากสมาชิกทุกท่าน สมาชิกอาวุโสได้ช่วยกันออกความคิดเป็นกำลังใจให้ผู้ทำงาน สมาชิกรุ่นเยาว์ก็ทำตามมติที่ประชุมอย่างนอบน้อม น่ารัก
สำหรับทำงานมีหลายท่าน จะขอกล่าวเฉพาะผู้ทำงานและต้องรับผิดชอบงานด้วยเท่านั้น เพื่อไม่ให้ยืดยาวเกินไป ขอกล่าวถึง
พญ.เพลินศรี จารุวร พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ซึ่งในช่วงระยะเวลา 2531-2535 ดำรงตำแหน่งนายกสมาคมและประธานวิทยาลัย ส่วนอีกผู้หนึ่ง คือ พญ.เพลินจิตต์ ในช่วงระยะเวลา 2531 -2534 ได้ขอว่างเว้นงานบริหารสมาคม เพื่อไปทำงานอื่นเกี่ยวกับวิสัญญีพยาบาล และกระทรวงสาธารณสุขซึ่งยังไม่ลงตัวดี
อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นผู้รู้เรื่อง ปัญหาวิชาชีพวิสัญญีในขณะนั้นดี ทั้งแง่บริหาร การเงิน ความเป็นมา การติดต่อทางราชการ พญ.เพลินจิตต์ จงเข้ามาเป็นตัวจักรกลด้วยอีกคนหนึ่ง ทำหน้าที่ประสานงานจัดทำร่างข้อบังคับวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ร่างข้อบังคับ แพทยสภาว่าด้วยราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย จัดหาและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารต่าง ๆ ที่ต้องนำเสนอในการขอเปลี่ยนสถานภาพและประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
อีกผู้หนึ่งที่ต้องขอกล่าวถึงคือ พญ.สุวัฒนา โภคสวัสดิ์ เป็นผู้ติดต่อจดทะเบียนสมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อขอจดทะเบียนเบิกสมาคมก่อนเปลี่ยนเป็นวิทยาลัย และราชวิทยาลัย
เชื่อหรือไม่ สมาคมวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ตั้งขึ้น พ.ศ. 2513 แต่จดทะเบียนไม่สมบูรณ์ จึงเป็นสมาคมเถื่อน มาจนถึง 4 มีนาคม พ.ศ.2527 จึงเริ่มจดทะเบียนใหม่ เพื่อขอจดทะเบียนเลิกสมาคม เมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งขั้นตอนนี้ยุ่งยากมาก จึงทำให้การขอเปลี่ยนสมาคมเป็นวิทยาลัยใช้เวลาถึง 2 ปี 7 เดือน นานกว่าการขอเลื่อนวิทยาฐานะวิทยาลัยมาเป็นราชวิทยาลัย ซึ่งใช้เวลาเพียง 1 ปี 8 เดือน
ผู้ที่จะต้องกล่าวถึงและสำคัญยิ่ง คือ นพ.ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ท่านเป็นผู้ชี้แนะเสนอให้ข้อเป็นราชวิทยาลัยฯ และช่วยดำเนินเรื่อง ด้วยบารมีของท่านจึงให้ได้ ราชวิทยาลัย มาอย่างสะดวกและถือว่ารวดเร็วความล่าช้าส่วนใหญ่อยู่ที่การจัดหาเอกสารประกอบการขอซึ่งมิใช่เรื่องง่ายนัก และใช้เวลาในการได้มาซึ่งเอกสารบางอย่าง
หวังว่าประวัติส่วนนี้ จะทำให้สมาชิกรุ่นหลัง คือ การยึดมั่นในความสามัคคี เคารพผู้อาวุโส เสียสละเพื่อส่วนรวม ช่วยกันจรรโลงองค์กรของเราให้เป็นที่เชื่อถือของสังคม ดังที่ได้กล่าวไว้ในงานฉลองราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย ต่อหน้ามหาสมาคมอื่นๆ เมื่อวันที่ .........
ขอให้โชคดี รุ่งเรืองในอาชีพการงาน เป็นที่รัก นับถือของสังคม
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงเพลินจิตต์ ศิริวันสาณฑ์
ผู้เรียบเรียง
7 ธันวาคม 2555